ความรู้ภาษี ประกันสังคม

เทคนิดลดหย่อนภาษีเงินได้

อยากจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ถูกลง มีเทคนิคดี ๆ มาฝากกันแล้ว ถือเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ภาษีที่ต้องทำการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามแบบ ภ.ง.ด. 90 / 91 เมื่อยื่นเรียบร้อยก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการการจ่ายภาษีตามเกณฑ์ที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ อย่างไรก็ตามในแต่ละปีเองทางภาครัฐก็จะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีเพื่อช่วยเหลือให้ผู้มีรายได้เสียภาษีน้อยลง อย่างค่าลดหย่อนปี 2564 ล่าสุดที่เพิ่มขึ้นมาคือ มาตรการช้อปดีมีคืน แต่ถ้าต้องการรู้ว่าพื้นฐานในแต่ละปีที่จะช่วยให้จ่ายเงินตรงนี้ถูกลงมีอะไรบ้าง มีเทคนิคมาฝากกัน เทคนิคง่าย ๆ ในการจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ถูกลง ทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพการทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพไม่ใช่มีข้อดีแค่เรื่องของหลักประกันในกรณีเกิดการเจ็บป่วยเท่านั้น แต่ยังช่วยให้การจ่ายภาษีเงินได้ของทุกคนลดลงด้วย ตามกฎหมายปกติ ประกันชีวิตจะลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนประกันสุขภาพจะลดหย่อนได้ไม่เกิน 15,000 บาท และรวมกับประกันชีวิตไม่เกิน 100,000 บาท (ยกเว้นค่าลดหย่อนปี 2564 ที่เพิ่มเบี้ยประกันสุขภาพให้ไม่เกิน 25,000 บาท) เป็นเทคนิคดี ๆ ที่แนะนำอันดับแรกเลย การซื้อกองทุนตามที่รัฐบาลกำหนดในแต่ละปีจะมีประเภทกองทุนที่รัฐบาลกำหนดเอาไว้เพื่อใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษี ดังนั้นหากคุณเป็นนักลงทุนอยู่แล้วและมองว่าปีนี้น่าจะต้องเสียภาษีเงินได้สูง การซื้อกองทุนตามที่รัฐบาลกำหนดก็ถือเป็นอีกทางเลือกดี ๆ ที่จะช่วยลดหย่อนให้จ่ายภาษีได้ถูกลง การทำประกันสุขภาพให้กับบิดา / มารดาข้อนี้เหมาะสำหรับคนที่พ่อแม่ไม่มีรายได้ หรือรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท สามารถนำเอาเบี้ยประกันสุขภาพไปลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 บาท ซึ่งย้ำว่าต้องเป็นเบี้ยประกันสุขภาพเท่านั้น…
Read more


0

นายจ้างบังคับให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้หรือไม่

  ถาม : บริษัทบังคับทำโอทีได้หรือไม่ นายจ้างบังคับให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้หรือไม่ ตอบ : ถ้าตอบสั้น ๆ ก็ต้องบอกว่าบังคับไม่ได้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราว ๆ ไปครับ แต่จริง ๆ ต้องดูรายละเอียดอื่นเพิ่มเติมด้วย เช่น ในกรณีที่ลักษณะงานหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน หรือเป็นงานฉุกเฉิน หรือเป็นงานอื่นตามที่กำหนดในกฎหมาย นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้เท่าที่จำเป็นครับ นอกจากนี้แล้วนายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดได้สำหรับกิจการโรงแรม สถานมหรสพ งานขนส่ง ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม สถานพยาบาล หรือกิจการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงได้อีกด้วยครับ


0

บริษัทให้ทำงานสัปดาห์ละ 7 วัน ทำงานทุกวัน ไม่มีวันหยุดเลยได้หรือไม่

  ถาม : บริษัทให้ทำงานสัปดาห์ละ 7 วัน ทำงานทุกวัน ไม่มีวันหยุดเลยได้หรือไม่ ตอบ : พรบ. คุ้มครองแรงงานกำหนดให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์อย่างน้อย 1 วัน โดยวันหยุดประจำสัปดาห์ต้องมีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วันครับ เช่น ทำงานวันจันทร์ถึงเสาร์ หยุดวันอาทิตย์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามนายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าเพื่อสะสมวันหยุดประจำสัปดาห์และเลื่อนไปหยุดเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ต้องอยู่ในระยะเวลาสี่สัปดาห์ติดต่อกัน นายจ้างควรจัดให้ลูกจ้างควรได้พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิในวันต่อ ๆ ไปครับ


0

กระดานถามตอบ

สวัสดีครับ ผมรวบรวมคำถามที่ลูกค้าหรือผู้ที่สนใจใช้บริการรับทำเงินเดือนสอบถามเข้ามา ตอบรวบรวมไว้ในกระทู้นี้อันเดียวเลยนะครับ จะได้สะดวกเวลาค้นหาครับ ถาม การขึ้นทะเบียนนายจ้างสามารถไปติดต่อขึ้นได้ทุกเขตทั่วประเทศหรือไม่ เช่นบริษัทจดทะเบียนที่เขตจตุจักร สามารถมาขึ้นทะเบียนที่สำนักงานประกันสังคมในสมุทรปราการได้ไหม ตอบ ไม่ได้ครับ ต้องขึ้นทะเบียน (และส่งเงินสมทบทุก ๆ เดือน) ตามพื้นที่ โดยนายจ้างที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ สำหรับเขตกรุงเทพมหานครนั้น ให้ยื่นแบบได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำหรับนายจ้างที่มีสำนักงานใหญ่ในส่วนภูมิภาคให้ยื่นแบบขึ้นทะเบียนได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่ครับ   ถาม การขึ้นทะเบียนนายจ้าง ประกันสังคม ใช้เอกสารอะไรบ้าง ตอบ ใช้เอกสารดังนี้ครับ กรณีจดทะเบียนนิติบุคคล แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส. 1-01) สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์ สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ช.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด) กรณีเจ้าของคนเดียว (ต้องใช้เอกสารแนบทุกข้อที่กำหนด) สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประชาชน (คนต่างด้าวใช้สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ หรือใบอนุญาตให้ประกอบกิจการที่ออกตามกฏหมายอื่น ซึ่งระบุชื่อที่อยู่ชัดเจน สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม…
Read more


16

เงินได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี

ความรู้เรื่องภาษีจากกรมสรรพากร http://www.rd.go.th/publish/550.0.html เงินได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี? ตามกฎหมาย เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน” หมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ หรือหน่วยภาษีใดข้างต้นที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ หรือเงินได้ ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่ 1. เงิน 2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินที่ได้รับจริง 3. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน 4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ 5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อน ๆ มีเงินได้ อย่าลืมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทุกปีด้วยนะครับ


1

ภาษีธุรกิจเฉพาะ กิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

การประกอบกิจการต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 1. กิจการของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 2. กิจการของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 3. กิจการของสหกรณ์ออมทรัพย์ เฉพาะการให้กู้ยืมแก่สมาชิกหรือแก่สหกรณ์ออมทรัพย์อื่น 4. กิจการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 5. กิจการของการเคหะแห่งชาติ เฉพาะการขายหรือให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ 6. กิจการรับจำนำของกระทรวง ทบวง กรม และราชการส่วนท้องถิ่น 7. กิจการขายหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในตลาดหลักทรัพย์ 8. กิจการของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม 9. กิจการของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม 10. กิจการของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย 11. กิจการของกองทุนสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 12. กิจการขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน 13. กิจการของบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน 14. กิจการของนิติบุคคลเฉพาะกิจในส่วนที่เกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้ (1) กิจการที่เกิดขึ้นเนื่องจากการรับโอนทรัพย์สินจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น หรือการโอนทรัพย์สินดังกล่าวคืนให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น (2) กิจการที่ได้รับโอนมาจากผู้โอนซึ่งได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/3 แห่งประมวลรัษฎากร 15. กิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นในส่วนที่เกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์ เป็นหลักทรัพย์ เฉพาะที่เกิดขึ้นเนื่องจากการโอนทรัพย์สินให้แก่นิติบุคคลเฉพาะกิจ หรือการรับโอนทรัพย์สินดังกล่าวกลับคืนจากนิติบุคคลเฉพาะกิจ 16. กิจการของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์…
Read more


0

อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตามอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน

ความรู้เรื่องภาษีจากกรมสรรพากร ประเทศไทยได้เริ่มจัดทำอนุสัญญา ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2505 กับประเทศสวีเดน และได้มีการเจรจาทำอนุสัญญากับต่างประเทศเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยโครงสร้างทั่ว ๆ ไป ของอนุสัญญาประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ส่วนที่ 1 ขอบข่ายของอนุสัญญา (1) ขอบข่ายด้านบุคคล อนุสัญญาทุกฉบับจะกำหนดไว้ว่าจะบังคับใช้กับผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐคู่สัญญาเท่านั้น ผู้อื่นจะมาใช้ประโยชน์จากอนุสัญญาไม่ได้ สำหรับประเทศไทยนั้นกำหนดไว้ว่า ผู้ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากอนุสัญญาของประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ คือ บุคคลธรรมดาที่อยู่ในประเทศไทยเกินกว่า 180 วัน ในปีภาษีหนึ่ง ๆ และนิติบุคคลที่จดทะเบียนก่อตั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย (2) ขอบข่ายด้านภาษี จะครอบคลุมเฉพาะภาษีเงินได้เท่านั้น นั่นคือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ซึ่งเป็นภาษีทางตรงและผลักภาระภาษีได้ยาก ภาษีทางอ้อมอื่น ๆ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะจะไม่อยู่ภายใต้บังคับของอนุสัญญา เนื่องจากเป็นภาษีทางอ้อมซึ่งผลักภาระความซ้ำซ้อนไปให้ผู้บริโภคได้ง่าย ส่วนที่ 2 เงินได้ประเภทต่าง ๆ ในส่วนของรายการเงินได้นั้น อนุสัญญาจะไม่กำหนดว่ารายการประเภทใด จะต้องเสียภาษีอัตราเท่าใด แต่จะทำหน้าที่เพียงบอกว่าเงินได้ประเภทนี้รัฐแหล่งเงินได้หรือรัฐถิ่นที่อยู่จะได้รับสิทธิ ในการเก็บภาษี ถ้ารัฐใดได้รับสิทธิในการเก็บภาษีผู้รับเงินได้จะต้องเสียภาษีตามกฎหมายภายในของรัฐนั้น…
Read more


0