ความรู้ภาษี ประกันสังคม

เคลียร์ชัด! เลขา สปส.แจง กรณี กทม. เตรียมยกเลิก รพ. ประกันสังคม 9 แห่ง ชี้ยกเลิกเฉพาะสิทธิ สปสช.

หลังจากมีกระแสข่าวเกี่ยวกับการเตรียมยกเลิกโรงพยาบาลเอกชนประกันสังคม 9 แห่ง จึงได้มีการออกมาชี้แจงรายละเอียดนี้เพื่อความชัดเจนของทุก ๆ คน โดยเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้ออกมาชี้แจงกรณี กทม. ทำการหารือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีเตรียมยกเลิกสัญญากับโรงพยาบาลประกันสังคม 9 แห่ง ซึ่งจะมีผลตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไปนั้น สำนักงานประกันสังคม ได้ทำการตรวจสอบข้อมูลพบว่า จากกรณีดังกล่าวเป็นเพียงการยกเลิกขึ้นทะเบียนของหน่วยบริการโรงพยาบาลเอกชนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจำนวน 9 แห่งเท่านั้น ซึ่งแบ่งเป็นสถานพยาบาลประกันสังคม 8 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมเหสักข์ โรงพยาบาลบางนา 1 โรงพยาบาลประชาพัฒน์ โรงพยาบาลนวมินทร์ โรงพยาบาลเพชรเวช โรงพยาบาลแพทย์ปัญญา โรงพยาบาลบางมด โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท ขณะที่โรงพยาบาลผู้สูงอายุกล้วยน้ำไท 2 ไม่ใช่สถานพยาบาลในระบบประกันสังคมอยู่ก่อนแล้ว จึงถือเป็นการยกเลิกสัญญากับสิทธิจาก สปสช. (สิทธิ 30 บาท) จึงไม่ได้กระทบกับเรื่องของสิทธิการรักษาพยาบาลผู้ประกันตนใด ๆ ทั้งสิ้น ขณะเดียวกันทางด้าน เลขาธิการ สปส.…
Read more


0

เพื่อสุขภาพที่ดีของแรงงาน ประกันสังคมยืดเวลาฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่คนอายุ 50 ขึ้นไปจนถึงสิ้นปี

จากการที่กระทรวงแรงงานโดยรัฐมนตรีนายสุชาติ ชมกลิ่น ได้มีโนบายด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคให้กับลูกจ้างผู้ประกันตนทุกคน สำนักงานประกันสังคมจึงดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวด้วยการเปิดบริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Influenza Vaccine) ให้กับผู้ประกันตนมาตรา 33 และผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปฟรี เพื่อสร้างความคุ้มครองพร้อมดูแลผู้ประกันตนซึ่งเป็นแรงงานสำคัญของประเทศในลักษณะของการป้องกันมากกว่าการรักษา ปกติแล้วทางประกันสังคมเองจะมีบริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ณ สถานพยาบาลที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดปีละ 1 ครั้ง ซึ่งกำหนดในปี 2565 ก่อนหน้านี้ ได้เปิดให้บริการในช่วงระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม – 31 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมานั้น อย่างไรก็ตามเพื่อดูแลกลุ่มผู้ประกันตนให้มีโอกาสเข้าถึงสิทธิบริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อการป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทางคณะกรรมการประกันสังคมจึงได้เห็นชอบทำการขยายระยะเวลาจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ณ สถานพยาบาลตามสิทธิของตนเองได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป นอกจากเรื่องดังกล่าวแล้ว นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ได้มีคำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ประกันตนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งมีความประสงค์เข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ควรติดต่อนัดหมายการฉีดวัคซีนกับสถานพยาบาลของตนเองก่อนเข้ารับบริการ กรณีสถานพยาบาลตามสิทธิของผู้ประกันตนไม่มีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ สามารถติดต่อสำนักงานประกันสังคมโทรศัพท์ 0 2956 2500-10 ได้ นอกจากนี้ผู้ประกันตนยังสามารถฉีดวัคซีนโควิด-19…
Read more


0

รู้หรือไม่? มนุษย์เงินเดือนก็ต้องโดนหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยเช่นกัน

ปกติแล้วเมื่อพูดถึงเรื่องของการ “หักภาษี ณ ที่จ่าย” มักเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจด้านบริการทั้งหลาย รวมถึงเหล่าฟรีแลนซ์งานบริการเช่นกัน แต่แท้จริงแล้วรู้หรือไม่ “มนุษย์เงินเดือน” ที่ทำงานทุกวันนี้คุณเองก็ต้องเข้าข่ายโดนหักภาษีในส่วนดังกล่าวด้วย จึงอยากนำข้อมูลตรงนี้มาบอกต่อเพื่อสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง ไม่ต้องสงสัยว่าเงินเดือนหายไปไหน ทำไมได้ไม่ครบ!!! การหักภาษี ณ ที่จ่าย คืออะไร ก่อนจะไปรู้ในรายละเอียดของการจ่ายสำหรับมนุษย์เงินเดือน มาศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับภาษีตัวนี้กันสักเล็กน้อย การหักภาษี ณ ที่จ่าย คือ รูปแบบของการเสียภาษีลักษณะหนึ่งโดยผู้รับเงินต้องถูกหักเงินตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในทันทีที่มีการจ่ายชำระเงิน ซึ่งผู้จ่ายต้องมีการจดทะเบียนนิติบุคคล หรือเป็นองค์กรรูปแบบบริษัท เมื่อองค์กรเหล่านี้ทำการหักเงินก่อนจ่ายเรียบร้อยแล้วก็จะมีการนำส่งเงินดังกล่าวไปยังกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไปผ่านแบบ ภ.ง.ด. 1 แล้วมนุษย์เงินเดือนต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายอย่างไร ปกติแล้วมนุษย์เงินเดือนทุกคนจะได้รับผลตอบแทนเป็น “เงินเดือน” จากนายจ้าง ซึ่งเมื่อเทียบตามหลักเงินได้จะอยู่ในมาตรา 40 (1) อย่างไรก็ตามในกรณีที่เงินเดือนของพนักงานผู้นั้นสูงจนถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดเอาไว้นายจ้างต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกเดือน แล้วจึงค่อยทำการจ่ายเงินแก่พนักงานต่อไป โดยอัตราเงินเดือนที่ต้องเข้าข่ายการโดนหัก ณ ที่จ่าย มีดังนี้ รับเงินเดือนไม่เกิน 10,000 บาท / เดือน ไม่ต้องยื่นภาษี รับเงินเดือนไม่เกิน 26,583.33…
Read more


0

“ค่าตำแหน่ง” สิ่งที่กลายเป็นวัฒนธรรมของหลายองค์กรในปัจจุบัน

ไม่ว่าใครเมื่อทำงานแล้วย่อมคาดหวังถึงผลตอบแทนที่มากขึ้น นอกจากเงินเดือนยังมองถึงโบนัส คอมมิชชั่น และอื่น ๆ ซึ่ง “ค่าตำแหน่ง” ก็เป็นอีกรายได้ที่สามารถพบเจอได้บ่อยมาก ๆ ในยุคปัจจุบัน จนแทบกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรไปแล้วด้วยซ้ำ มาทำความรู้จักกับรายได้เพิ่มเติมส่วนนี้ของมนุษย์เงินเดือน สิ่งที่มาพร้อมกับความรับผิดชอบที่มากขึ้นกว่าเดิม “ค่าตำแหน่ง” คืออะไร? ค่าตอบแทนเพิ่มเติมสำหรับคนทำงานในองค์กร? จากผลสำรวจได้มีข้อมูลน่าสนใจระบุว่ามีองค์กรจำนวนไม่น้อยนิยมให้ “ค่าตำแหน่ง” กับพนักงานเป็นอย่างมาก ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ พนักงาน, หัวหน้างาน, ผู้จัดการ และฝ่ายบริหาร เงินตรงนี้เริ่มตั้งแต่ 4-500 บาท ไปจนถึงหลักพัน หลักหมื่น หากมีตำแหน่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ และขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจและการแข่งขันในอุตสาหกรรมนั้น ๆ ด้วย ข้อดีของการมีค่าตำแหน่งหลัก ๆ แล้วองค์กรมักมองเป็นการตอบแทนให้กับพนักงานที่รับผิดชอบในตำแหน่งนั้น ๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความอาวุโส อีกทั้งยังไม่ได้กระทบกับรายรับส่วนอื่นโดยตรง เช่น เงินเดือน, โบนัส, การปรับเงินเดือนประจำปี ดังนั้นจึงไม่ได้มีการนำไปคำนวณเพื่อปรับเงินในส่วนดังกล่าว สิ่งที่ต้องระวังเกี่ยวกับการจ่ายค่าตำแหน่งให้พนักงาน สำหรับองค์กรที่อยากซื้อใจพนักงานด้วยการจ่ายค่าตำแหน่งให้ก็มีเรื่องที่ต้องระวังอยู่เช่นกัน นั่นคือ ได้มีการนำเงินตรงนี้มาเป็นฐานสำหรับคำนวณค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษเงินสมทบประกันสังคมด้วยหรือไม่?…
Read more


0

แรงงานเฮ! ค่าแรงขั้นต่ำปรับขึ้นสูงสุด 354 บาท มีผลทันที 1 ต.ค. 2565

หลังจากอัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นมาก ราคาสินค้าและบริการต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ส่งผลถึงค่าครองชีพต้องปรับตัวตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คนที่ต้องแบกรับความหนักหนาเอาไว้คงหนีไม่พ้นชาวแรงงานผู้หาเช้ากินค่ำทั้งหลาย แต่ล่าสุดได้มีมติจากกระทรวงแรงงานจากการประชุมคณะกรรมการการค่าจ้าง ชุดที่ 21 (คณะกรรมการไตรภาคี) ครั้งที่ 8/2565 เพื่อพิจารณากลั่นกรองข้อเสนออัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2565 ร่วมด้วยเหล่าบรรดาตัวแทนฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง และหน่วยงานภาครัฐ ค่าแรงขั้นต่ำปรับสูงสุด 354 บาท มีผล 1 ต.ค. 2565 หลังจากมีการประชุมกันเรียบร้อยแล้ว ก็ได้มีมติเห็นชอบออกมาจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำจากเดิม 337 บาท เป็นอัตราสูงสุดอยู่ที่ 354 บาท หรือคิดเป็น 5.02% ตามแนวคิดด้านความเสมอภาค นายจ้างอยู่ได้ ลูกจ้างไม่เดือดร้อน และยังช่วยเพิ่มเติมกำลังซื้อภายในประเทศให้มากขึ้น ซึ่งอัตราที่ปรับใหม่แต่ละพื้นที่แบ่งออกดังนี้ 1. ชลบุรี, ระยอง และภูเก็ต ปรับค่าจ้างเป็น 354 บาท 2. กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, นครปฐม, ปทุมธานี, สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ปรับค่าจ้างเป็น 353 บาท…
Read more


0

ผู้ประกันตนป่วยโควิด-19 ใช้บริการพบแพทย์ (Telemedicine) ส่งยาฟรีถึงบ้าน ผ่าน 3 แอป ที่ขึ้นทะเบียนกับ สปสช.ได้ทันที

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน ได้มีการออกมาเผยว่า นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยังคงเล็งเห็นความสำคัญด้านบริการทางการแพทย์ให้กับผู้ประกันตนทุกคน สำหรับการเข้ารับการรักษาจากสถานพยาบาลตามสิทธิและสถานพยาบาลทุกแห่ง ต้องได้รับบริการที่มีความสะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องรอคิวนาน เพื่อลดความแออัดและการแพร่เชื่อในช่วงสถานการณ์โรคระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา-19 ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ทางสำนักงานประกันสังคมมีการร่วมมือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พร้อมด้วย 3 ผู้ให้บริการด้านสุขภาพดิจิทัล ดำเนินการโครงการดูแลผู้ป่วยโควิดผ่านบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ความพิเศษคือ จะมีบริการจัดส่งยาถึงบ้านของตัวผู้ประกันตน หากมีกาตรวจด้วย ATK แล้วขึ้น 2 ขีด เท่ากับติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งทางผู้ประกันตนสามารถพบแพทย์ผ่านระบบออนไลน์เพื่อซักถามพร้อมจ่ายยาตามอาการและตามดุลยพินิจของแพทย์ด้วยความเหมาะสม ย้ำว่าจัดส่งถึงบ้าน ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย!!! ตามแบบฟอร์มลงทะเบียนโครงการ Self-Isolation สำหรับผู้ป่วย COVID-19 ได้รับการสนับสนุนโครงการจาก สปสช. และ สวทช. โดยจะให้บริการผ่าน 3 แอปพลิเคชันดังนี้ 1. แอปพลิเคชัน Clicknic ให้บริการโดย บริษัท คลิกนิก เฮลท์ จำกัด…
Read more


0

รู้ไว้ใช้ได้ถูกต้อง โรคและบริการที่ไม่ได้รับสิทธิ์ทางการแพทย์จากประกันสังคม

การทำประกันสังคมมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อให้การดูแลแรงงานที่มีการประกันตนเองในยามเจ็บป่วย ไม่ต้องเสียเงินค่ารักษาพยาบาลสูงจนเกินไป สามารถเข้าทำการรักษาได้ตามโรงพยาบาลสิทธิ์ของตนเอง อย่างไรก็ตามแม้การรักษาโรคพื้นฐาน เช่น การเจ็บป่วย อุบัติเหตุ การทำฟัน รวมถึงการจ่ายเงินชดเชยเป็นสิทธิ์ที่ผู้ประกันตนพึงได้ แต่ก็มีบางโรคและบางบริการที่จะไม่สามารถใช้สิทธิ์ในส่วนนี้ จึงอยากให้ศึกษาเพื่อทำความเข้าใจอย่างถูกต้อง โรคและบริการที่ไม่ได้รับสิทธิ์ทางการแพทย์จากประกันสังคม 1. โรคภัยไข้เจ็บหรือการเกิดอุบัติเหตุซึ่งมีสาเหตุจากการใช้สารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยการต้านยาเสพติด 2. หากผู้ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง ไม่สามารถใช้สิทธิ์การบำบัดทดแทนไตได้ ยกเว้นหากเจ็บป่วยด้วยอาการไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย จะมีสิทธิ์เข้ารับบริการทางการแพทย์ด้วยการบำบัดทดแทนไตผ่านวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, การล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างถาวร และวิธีการปลูกถ่ายไต ตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดเอาไว้ 3. การกระทำทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับความสวยความงามโดยไม่ได้มีข้อบ่งชี่ในทางการแพทย์ 4. การรักษาโรคต่าง ๆ ในระหว่างช่วงที่ยังอยู่ขั้นตอนการทดลอง 5. การเข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยาก 6. การตรวจเนื้อเยื่อสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ 7. ทุกรูปแบบการตรวจที่เกินจากความจำเป็นของการรักษาในโรคนั้น ๆ 8. การผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนอวัยวะ 9. การเปลี่ยนเพศ 10. การผสมเทียม 11. การบริการในช่วงระหว่างรักษาตัวแบบพักฟื้น 12. ทันตกรรม ยกเว้นการถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน การผ่าฟันคุด ซึ่งจะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่าผู้ประกันตนมีสิทธิ์เข้ารับบริการทางการแพทย์เท่าที่ได้ทำการจ่ายเงินตามจริง วงเงินไม่เกิน 900 บาท / ปี…
Read more


0

ผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้เฮ สปส. เตรียมคืนเงินส่วนที่ชำระเกินผ่านพร้อมเพย์

สำนักงานประกันสังคม หรือ สปส. ได้มีการออกมายืนยันโดยนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ระบุว่า ตามที่พระราชกฤษฎีกาประกาศลดอัตราเงินสมทบให้กับผู้ประกันตนมาตรา 40 เหลือร้อยละ 60 ของเงินสมทบ เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่งวดวันที่ 1 สิงหาคม 2564 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2565 และในงวดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 31 กรกฎาคม 2565 นั้น โดยกำหนดให้ลดอัตราเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 40 เหลือร้อยละ 60 ของเงินสมทบเดิม คือ ทางเลือกที่ 1 เดิมผู้ประกันตนจ่ายเดือนละ 70 บาท ลดเหลือเดือนละ 42 บาท ทางเลือกที่ 2 เดิมผู้ประกันตนจ่ายเดือนละ 100 บาท ลดเหลือเดือนละ 60 บาท ทางเลือกที่…
Read more


0

ลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม ปี 2565 (พ.ค. – ก.ค. 65)

Last update : 2022-05-05 ลดเงินสมทบประกันสังคม ผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 40 เริ่มจ่าย พ.ค. 2565 ต้องจ่ายเท่าไหร่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ลดอัตราเงินสมทบเพิ่มอีก 3 เดือน จากเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2565 เพื่อช่วยเหลือนายจ้างผู้ประกอบการ และผู้ประกันตน นาน 3 เดือนเริ่ม พ.ค. – ก.ค.65 สำนักงานประกันสังคมแจกยิ้มให้ชาวประกันสังคมมาตรา 33 และ มาตรา 39 ลดอัตราเงินสมทบให้เกินครึ่งติดต่อกันถึง 3 เดือน ตั้งแต่ พ.ค. – ก.ค. 65 โดยมีรายละเอียดดังนี้ ผู้ประกันตนมาตรา 33ปรับลดเงินสมทบนายจ้าง ผู้ประกันตนมาตรา 33 จากเดิมร้อยละ 5 เหลือฝ่ายละร้อยละ 1 ของค่าจ้าง…
Read more


0

ลดเงินสมทบ ประกันสังคม ปี 2565

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 ว่า นายกรัฐมนตรีมีความห่วงใยต่อพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากราคาพลังงาน และสั่งการทุกหน่วยงานประเมินพร้อมออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนจากสถานการณ์ดังกล่าว ในส่วนของกระทรวงแรงงาน ได้กำหนดมาตรการลดเงินสมทบประกันสังคม ทั้งในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตนทุกมาตรา ม.33, ม.39 และ ม.40 เป็นระยะเวลา 3 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2565 ผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวน 11.2 ล้านคน จะได้ลดเงินสมทบจากร้อยละ 5 ของค่าจ้าง เหลือ ร้อยละ 1 ของค่าจ้าง ยกตัวอย่างหากคิดบนฐานค่าจ้าง 15,000 บาท จากเดิมต้องส่งเงินสบทบ 750 บาท จะลดลงเหลือส่งเงินสมทบ 150 บาท ทำให้สามารถลดภาระค่าครองชีพ ไปได้ประมาณ 600 บาทต่อคนต่อเดือน ผู้ประกันตนมาตรา 39 จำนวน 1.9 ล้านคน จะได้ลดเงินสมทบจากร้อยละ…
Read more


0

วิธีเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคม 2565

การเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคม ประจำปี 2565 สามารถทำได้ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2564 จนถึง 31 มีนาคม 2565 โดยผู้ประกันตนสามารถทำได้ 3 ช่องทางตามที่สะดวก ดังนี้ ทางเว็บไซต์ https://www.sso.go.th/wpr/main/login ทางแอปฯ SSO Connect ยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคม วิธีเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคม มีขั้นตอนดังนี้ คลิกที่นี่เพื่อเข้าเว็บไซต์ประกันสังคม (หากยังไม่ได้เป็นสมาชิก ดูหัวข้อ “วิธีสมาชิกประกันสังคม” ด้านล่าง) เลือก “ยื่นแบบขอเปลี่ยนสถานพยาบาล” เลือก “เปลี่ยนประจำปี” (หรือ “ย้ายที่อยู่” กรณีเปลี่ยนที่อยู่หรือที่ทำงานใหม่) เลือก “สถานพยาบาลใหม่” เลือก “ยอมรับข้อตกลง” กดปุ่ม “บันทึก” วิธีสมัครสมาชิกประกันสังคม คลิกที่นี่เพื่อเข้าเว็บไซต์ประกันสังคม คลิกปุ่ม สมัครสมาชิก อ่านข้อตกลงและเลือก “ฉันยอมรับข้อตกลงในการบริการ” กรอกข้อมูล เช่น หมายเลขบัตรประชาชน เบอร์มือถือ ตั้งรหัสผ่าน ฯลฯ กด “ถัดไป”…
Read more


0

ออกจากงาน เราจะยื่นภาษี 2564 อย่างไร ให้ถูกต้อง

คำนวณภาษี 2564 วิธีการคำนวณภาษี เงินเกษียณอายุ 2564 หรือเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ถือเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานอกเหนือจากค่าจ้างทั่วไป ซึ่งกรณีลูกจ้างทำงานมาแล้วครบ 5 ปี นายจ้างจะต้องคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายด้วยวิธีพิเศษ ส่วนฝ่ายลูกจ้างก็มีทางเลือกในการคำนวณภาษีได้ 2 แบบ คือ แบบที่ 1) นำเงินได้มารวมกันทั้งหมดแล้วคิดภาษีรวมทีเดียว (เลือกเสียภาษีเหมือนค่าจ้างและโบนัสทั่วไป) แบบที่ 2) แยกคำนวณภาษีโดยไม่นำไปรวมกับเงินได้อื่นๆ (ใช้ “ใบแนบ ภ.ง.ด. 90/91 กรณีคำนวณเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานฯ”) ซึ่งแบบที่ 2 นี้ มักจะมียอดเสียภาษีน้อยกว่าแบบที่ 1 เพราะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้เพิ่มเติมนั่นเอง อย่างไรก็ตาม การเลือกวิธีคำนวณภาษีแบบที่ 2 นั้นมีเงื่อนไขที่สำคัญอยู่หนึ่งอย่างคือ ลูกจ้างจะต้องมีอายุงาน 5 ปีขึ้นไป หากอายุงานไม่ถึง 5 ปี จะต้องนำเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเหตุเพราะออกจากงาน เช่น เงินชดเชยจากการเลิกจ้าง เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินเกษียณอายุ มารวมคำนวณภาษีในแบบที่ 1 เท่านั้น ตัวอย่างการคำนวณแยก โดยใช้…
Read more


0

โครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงาน

กรมการจัดหางาน เปิดลงทะเบียนโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงาน เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการด้วยการให้เงินอุดหนุนการจ้างงานในอัตรา 3,000 บาทต่อลูกจ้างสัญชาติไทย 1 คนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 ถึง เดือนมกราคม 2565 โดยมีเงื่อนไขให้นายจ้างต้องรักษาระดับการจ้างงานไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 ในระหว่างเข้าร่วมโครงการ หน้าเว็บข่าวโครงการ : เปิดลงทะเบียนโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงาน หน้าเว็บสำหรับลงทะเบียน : ลงทะเบียนโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงาน ที่มา : ข่าวเศรษฐกิจ pptvhd36.com , กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน


0

ชำระ กยศ. SCB Business NET

เอกสารวิธีการชำระเงินกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ผ่านระบบ SCB Business NET คู่มือการชำระ กยศ. ผ่าน SCB Business NET


0

กรมสรรพากรปรับปรุงระบบยื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต

ช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา หลายท่านไม่สามารถยื่นแบบและชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ตได้ไม่ต้องตกใจครับ ทางกรมสรรพากรได้แจ้งผ่านหน้าเว็บและทางแฟนเพจว่า เป็นการชั่วคราวเพื่อปรับปรุงและยกระดับการให้บริการให้ดียิ่งขึ้นสำหรับพี่น้องประชาชนผู้เสียภาษีทุกท่าน โดยหน้าเพจแจ้งว่าระบบจะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในวันที่ 6 ตุลาคม 2564 อดใจรอกันอีกนิดครับ ระบบใหม่ที่ปรับปรุงแล้วน่าจะอำนวยความสะดวกและง่ายต่อการใช้งานมากขึ้น แต่ยังไม่แน่ใจว่าเรา ๆ ท่าน ๆ จะต้องเปลี่ยนโปรแกรมที่ใช่้ในการแปลงข้อมูล หรือเปลี่ยนรูปแบบ TEXT FILE ที่ใช้นำส่งภาษีกันมาหลายปีหรือไม่ รอดูกันต่อไป หากมีความคืบหน้า จะแจ้งให้ทราบต่อไปครับ ที่มา เว็บไซต์กรมสรรพากร วันที่ 3 ตุลาคม 2564


0

ความคุ้มครอง ประกันสังคม มาตรา 39

ผู้ประกันตนมาตรา 39 คือผู้ประกันตนโดยสมัครใจ โดยเป็นบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (เช่น พนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป) และนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ที่สำคัญต้องสมัครเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 หลังออกจากงาน ไม่เกิน 6 เดือนครับ โดยผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ดังนี้1. ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย2. คลอดบุตร3. ทุพพลภาพ4. เสียชีวิต5. สงเคราะห์บุตร6. ชราภาพ ที่มา เพจสำนักงานประกันสังคม วันที่ 24 กันยายน 2564


0

อัตราเงินสมทบกันยายน 2564

ประกาศออกมาแล้วครับเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2564 โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติลดอัตราเงินสมทบ นายจ้างและผู้ประกันตน ม.33 เหลือฝ่ายละ 2.5% และผู้ประกันตน ม.39 ลดเงินสมทบเหลือเดือนละ 235 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่กันยายน ถึงพฤศจิกายน 2564 เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อน ของนายจ้างและผู้ประกันตนจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เพจสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานครับ ที่มา เพจสำนักงานประกันสังคม วันที่ 21 กันยายน 2564


0

ประกันสังคมแต่ละมาตรา คุ้มครองอะไรบ้าง

สวัสดีครับ มีผู้ที่สนใจและลูกค้าสอบถามมาเป็นระยะ ๆ ว่า ความคุ้มครองของสิทธิ์ประกันสังคมแต่ละมาตรานั้น คุ้มครองอะไร คุ้มครองแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ผมเห็นข้อมูลจากเพจสำนักงานประกันสังคมให้ข้อมูลไว้ได้น่าสนใจ เข้าใจง่าย เลยนำมาลงไว้เป็นความรู้ให้ผู้ที่สนใจนะครับ กองทุนประกันสังคม 3 มาตรา ม.33 ม.39 ม.40 คุ้มครองอะไรบ้าง? ประกันสังคมไม่ได้ครอบคลุมแค่กลุ่มมนุษย์เงินเดือนเท่านั้น แต่แบ่งออกเป็น 3 มาตราหลักที่มอบสวัสดิการให้คนทำงานแต่ละกลุ่ม แตกต่างกันดังนี้ ✅ มาตรา 33 คือ ลูกจ้างผู้ซึ่งทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ ว่างงาน ✅ มาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ โดยเป็นบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบก่อนออกจากงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนแล้วลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม โดยได้รับความคุ้มครอง 6…
Read more


0

ยื่นขอทบทวบสิทธิ์เยียวยาด้วยตนเอง

สำหรับนายจ้าง ผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ในพื้นที่ 29 จังหวัดสีแดงเข้ม ที่มีสิทธิตามเงื่อนไข แต่ยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือโครงการเยียวยาฯ จากรัฐบาลนั้น สามารถยื่นแบบคำขอทบทวนสิทธิฯ ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2564 โดยสามารถยื่นแบบคำขอทบทวนสิทธิ์โครงการเยียวยาได้ด้วยตนเอง ณ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา หรือ ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับก็ได้ รีบกันหน่อยนะครับ หมดเขตวันที่ 31 ตุลาคม 2564 เท่านั้น ที่มา : เพจสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน วันที่ 6 ก.ย. 2564


0

ตรวจสอบสิทธิ์เยียวยา

นายจ้างและผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ใน 9 ประเภทกิจการ สามารถตรวจสอบสิทธิ์การเยียวยาได้ที่ https://www.sso.go.th/eform_news รายชื่อ 9 ประเภทกิจการที่ได้รับเงินเยียวยา ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร : โรงแรม, รีสอร์ต, เกสต์เฮาส์, ที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท, การบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร, การบริการด้านอาหารบนแผงลอยและตลาด, การบริการด้านการจัดเลี้ยง, การบริการด้านเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นหลักในร้าน การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า : การขนส่งผู้โดยสารทางรถโดยสารประจําทางระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดอื่น และระหว่างจังหวัด, การขนส่งผู้โดยสารโดยรถยนต์รับจ้าง/แท็กซี่/รถสามล้อเครื่อง จักรยานยนต์รับจ้าง, การขนส่งสินค้าแช่เย็นหรือแช่แข็งทางถนน, การขนส่งสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ทางถนน การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ : ห้างสรรพสินค้า, ซุปเปอร์เซ็นเตอร์, การขายปลีกสินค้าทั่วไป กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน : ธุรกิจจัดนําเที่ยว, กิจกรรมของมัคคุเทศก์, กิจกรรมการรักษาความปลอดภัย, การบริการทําความสะอาด, การจัดการประชุมและจัดการแสดงสินค้า (Event) กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ : กิจกรรมของบริษัทโฆษณา, กิจกรรมการออกแบบและตกแต่งภายใน, การตรวจสอบบัญชี, การให้คําปรึกษาด้านภาษี ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร…
Read more


0